มารู้จักกับการ รับขายฝาก

รับขายฝาก

Categories :

การ รับขายฝาก เป็นนิติกรรมรูปแบบหนึ่งที่มีสัญญาซื้อขายฝากซึ่งมีความคล้ายคลึงกับการจำนอง โดยจะเป็นการนำทรัพย์สินที่ดินมาใช้ในการขายฝากเพื่อนำมาแลกกับเงินอันเป็นต้นทุนที่ใช้ในการทำธุรกิจหรือเกตรกรรม ในบทความจะมาพูดถึงการ รับขายฝาก ให้ได้รู้จัก 

รับขายฝาก คือ ? 

รับขายฝาก เป็นสัญญาซื้อขายซึ่งสิทธิในการเป็นเจ้าของทรัพย์สินตกทอดไปยังผู้ซื้อ ผู้ซื้อตกลงในขณะทำสัญญาว่าผู้ขายมีสิทธิไถ่ทรัพย์สินคืนภายในเวลาใดก็ได้แต่ต้องไม่เกินเวลากำหนดโดยกฎหมาย เช่น การขายที่ดินโดยตกลงว่าหากผู้ขายอยากซื้อคืนผู้ซื้อก็ตกลงขายคืนถือเป็นสัญญาไถ่คืน ยกตัวอย่างคือ นายสีเอาสวนทุเรียนขายให้ผู้ใหญ่ซึ่งมีข้อตกลงตอนทำสัญญาว่าผู้ใหญ่ยอมให้นายสีไถ่สวนทุเรียนภายใน 1 ปี ตั้งแต่วันขายสวน สัญญาประเภทนี้เรียกว่าสัญญา รับขายฝาก ข้อตกลงคือ ผู้ขายอาจไถ่ถอนทรัพย์สินได้ มีขึ้นได้ก็เมื่อต้องทำสัญญาซื้อขายเท่านั้น หากทำขึ้นหลังจากสรุปสัญญา นั่นก็ไม่ใช่สัญญาขายฝาก แต่จะเป็นสัญญาขายคืน 

ประเภทสัญญา รับขายฝาก 

ในส่วนของสัญญา รับขายฝาก ที่แบ่งออกได้เป็นประเภทต่าง ๆ นั้น สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้ 

  • ถ้าเป็นสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ หรือก็คือทรัพย์สินที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ เช่น บ้าน ที่ดิน ที่นา เป็นต้น ต้องจดทะเบียนและทำหนังสือต่อเจ้าพนักงาน ถ้าไม่ทำเช่นนี้ก็ถือว่าสัญญาขายฝากนั้นไร้ผลบังคับใช้ ซึ่งเป็นการทำสัญญาที่เสียเปล่า เช่น นายทุเรียนอยากขายฝากที่ดิน 1 แปลงให้กับนายสมอ้อ ต้องทำสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนขายที่ดินกับเจ้าพนักงาน 
  • หากเป็นการฝากขายสังหาริมทรัพย์แบบพิเศษ (เป็นอสังหาริมทรัพย์เคลื่อนที่ได้ซี่งระบุไว้เป็นพิเศษให้ทำหนังสือและจดทะเบียนต่อทางการ) เช่น แพเรือยนต์ ยานพาหนะ สัตว์ เป็นต้น ต้องจดทะเบียนและทำหนังสือต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หากเป็นเรือต้องจดทะเบียนที่กรมท่าสัตว์พาหนะ ส่วนแพต้องจดทะเบียนที่อำเภอ หากไม่ปฏิบัติตามถือว่าสัญญาซื้อขายสิ้นผลบังคับใช้ 
  • ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ธรรมดา (เป็นทรัพย์ที่สามารถเคลื่อนที่ได้ ยกเว้น แพ เรือ) ซึ่งราคาจดทะเบียนต้องมีราคาตั้งแต่ 500 บาท การขายฝากต้องทำเป็นหนังสือให้แก่ผู้ซื้อและผู้ฝากขายได้รู้ รวมถึงการวางชำระหนี้บางส่วนหรือการวางมัดจำ  

จากบทความทำให้ได้รู้จักการ รับขายฝาก รวมถึงประเภทของสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการขายฝากไม่ว่าจะเป็นอสังหาริมทรัพย์ประเภทเคลื่อนที่ไม่ได้ สังหาริมทรัพย์แบบเคลื่อนที่ได้ หรือแบบธรรมดา โดยทั้งหมดนี้ล้วนตรงตามกฎหมายที่กำหนดและเมื่อมีใครผิดสัญญาก็สามารถดำเนินคดีได้